นิทานร้อยบรรทัด เรื่อง ทุกฝ่ายพอใจในโชคตน

นิทานร้อยบรรทัด เรื่อง ทุกฝ่ายพอใจในโชคตน

นิทานเรื่อง ทุกฝ่ายพอใจในโชคตน นำมาจากหนังสือนิทานร้อยบรรทัด เล่ม 6 เรื่อง ประชาธิปไตยที่ถาวร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 7

นิทานร้อยบรรทัด เรื่อง ทุกฝ่ายพอใจในโชคตน

โรงเรียนหยุด พักกลางวัน วันนั้นเหมาะ
แดงจำเพาะ ขาดเพื่อนเล่น เช่นนิจสิน
ออกจากห้อง อาหาร เสร็จการกิน
ก็ได้ยิน เสียงตาเพิก หลังเลิกงาน
"นี่แน่ลุง ฉันเห็นลุง ยุ่งแต่กวาด
เก็บกระดาษ ตั้งหอบ เกลื่อนรอบด้าน
ทั้งเช้าเย็น เก็บกันเรื่อย คงเหนื่อยอาน
ตั้งนมนาน ทำอย่างนี้ ไม่มีซา
เพิกว่า"อ้าว! งานซา เงินก็ทรุด
ทั้งลูกเมีย คงต้องขุด กินต้นหญ้า
ขอคุณคุณ ช่วยกันหนุน เรื่องขว้างปา
ให้กระดาษ เต็มตะกร้า ทุกทุกวัน
เมื่อเช้าวาน นึกว่า ชะตาขาด
คุณครูใหญ่ เก็บกระดาษ จ้าละหวั่น
ปากก็บ่น ว่า"นายเพิก ต้องเลิกกัน
ทำสะอาด ไม่ทัน กับเวลา"
ผมบอกท่าน ว่าก่อนค่ำ ผมทำเสร็จ
พอเช้ามืด ฝนลงเม็ด ลมพัดกล้า
พากระดาษ ปลิวเกลื่อนกลาด ดาษดา
เผอิญท่าน ด่วนมา ไม่เหมือนเคย
เป็นเคราะห์ดี ที่ท่านยั้ง ฟังเหตุผล
มิฉะนั้น คงไม่พ้น ต้องอยู่เฉย
ถึงงานอื่น พอหาได้ ไม่ชอบเลย
เป็นภารโรง ละคุณเอ๊ย ผมพอใจ"
แดงจดจำ คำลุงเพิก พอเลิกเรียน
ไม่แวะเวียน ตรงไปหา ป้าผู้ให้
คำแนะนำ เป็นความรู้ หูตาไกล
จนครูใหญ่ ชมว่าหาญ ชาญวิชา
"คุณป้าครับ งานรับใช้ สมัยนี้
ชนิดไหน ถึงจะดี มีคุณค่า
เป็นภารโรง เก็บกวาด สะอาดตา
จะนับว่า เหมาะสมัย ได้หรือยัง"
อ้อยว่า"ได้ ชิ!ทำไม แดงต้องถาม
เพราะทำงาน เงินตาม เป็นที่หวัง
ทุกสมัย ใช้เงิน เป็นเครื่องยัง"
อาชีพแท้ ชอบ ชัง มิบังควร
ทางที่ดี ควรที่ แล้วแต่โชค
อุปโลก เป็นนี่นั่น นั้นเรื่องสรวลล
โชคที่แท้ ของใคร ต้องใคร่ครวญ
แล้วรับเอา ตามกระบวน ไม่เบาความ
หากใครใคร พอใจ เช่นตาเพิก
งานภารโรง ไม่ยอมเลิก ดั่งแดงถาม
งานทุกส่วน จะดำเนิน เดินไปตาม
ที่บ้านเมือง พยายาม ให้เป็นไป
แล้วความสุข จะประสบ พอทั่วผู้
จงเร่งรู้ แบบนี้ ที่ท่านไข
ว่าระบอบ ประชา- ธิปไตย
ความเป็นใหญ่ เป็นของชน คนทั้งเมือง
โรงเรียนแดง เป็นโรงเรียน จำเนียรมา
ก็เพราะว่า คนทั้งกลุ่ม ต่างคุมเครื่อง
จักรทุกตัว ให้ทำการ งานหมดเปลือง
ไม่เอาเรื่อง ใช่ของตน มาปนเป"
รัฐบาล กลุ่มชนใหญ่ ใช่จะแปลก
ก็แบ่งแยก งานใหญ่ ไม่ไขว้เขว
แต่ละหน่วย งานไม่ซ้ำ ทำจำเจ
คนกับงาน คะเน พอสมกัน"
แดงว่า"ผม พอเข้าใจ ได้ละครับ
แต่สำหรับ การก้าวหน้า ถ้ามัวมั่น
ทำแต่หน้า- ที่ตน จนครบครัน
ไม่แข่งขัน เลื่อนฐานะ จะถูกทาง
อ้อยว่า"ถูก แล้วแดง ต้องแข่งขัน
แต่แข่งขัน ให้งานได้ ใช่ขัดขวาง
อย่างที่ว่า ขัดแข้งขา ข้อระคาว
เกิดบาดหมาง มุ่งทำลาย ใส่ร้ายกัน
เกิดว้าวุ่น แข่งบุญ วาสนา
เพราะถือสิทธิ์ บ้าบ้า อย่างน่าขัน
เป็นหิ่งห้อย เผยอแข่ง แสงตะวัน
อธิปไตย ที่ใฝ่ฝัน ไม่บรรลุ
ธรรมนุญ วางกระบวน ล้วนดีเลิศ
ผลที่เกิด ไม่เหมือนหวัง ดั่งระบุ
เพราะความรู้ เราทั่วไป ยังไม่ลุ
มาตรฐาน เลยเหมือนยุ ให้ลืมตัว
เมื่อยื่นดาบ ให้คนเขลา เอาไปใช้
พอย่ามใจ ฟันไม่ละ โมหะกลั้ว
หลงสิทธิ เสรี หมดที่กลัว
ยิ่งเหนี่ยวรั้ง ยิ่งยั่ว ไม่ยอมโง
เมื่อประชา- ธิปไตย ใช้ผิดที่
เหมือนปิดช่อง คนดี มิให้โผล่
ด้วยพวกเขลา มากกว่า พาเฮโล
ลากประเทศ พุทโธ่! สู่อุบาย
แดงว่า"คน ดีดี ก็มีมาก
ไยยอมปล่อย พวกเขลาลาก ให้เสียหาย
คงนอนหลับ ทับสิทธิ์ ผิดอุบาย
จึงนอนรอ วันตาย น่าอายครัน
อย่างพ่อดำ ของแดง ก็แกร่งพร้อม
เชี่ยววิชา ไยจึงยอม ไม่เข้าขัน
ไพล่ไปอยู่ สู้กับแดด แผดทั้งวัน
หรือเคร่งสัน- โดษแน่ ไม่แปรปรวน"
อ้อยว่า"อ้าว! เอาอีกแล้ว เจ้าหลานรัก
พ่อเขาบอก แล้วไม่ยัก จักสงวน
เขาว่าโชค ของเขา เข้ากระบวน
ทำนาสวน เกิดประโยชน์ โสดสำคัญ
คนดีดี มีดื่น พื้นฉลาด
ถึงสามารถ ทำทุกอย่าง ทางสร้างสรรค์
แต่สุดสู้ พวกมืดมน คนดื้นดัน
ทั้งพวกมาก ร้อยพัน ไม่พรั่นใคร
พวกเมาสิทธิ์ ควรคิดเห็น เช่นตาเพิก
งานใดเหมาะ ไม่ยอมเลิก เพราะโชคให้
ทุกทุกคน มุ่งสร้างผล เป็นกลไก
ของประชา- ธิปไตย ที่ถาวร

จบ นิทานร้อยบรรทัดเรื่อง ทุกฝ่ายพอใจในโชคตน


yengo หรือ buzzcity

นิทานเรื่อง ก่องข้าวน้อย

นิทานเรื่อง ก่องข้าวน้อย


ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีแม่ลูกยากจนคู่หนึ่ง ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ชายทุ่ง มีอาชีพทำนา ลูกชายเจริญวัยรุ่นหนุ่ม ได้ช่วยแม่ทำนาและประกอบสัมมาชีพต่าง ๆ เลี้ยงดูมารดาซึ่งชราภาพมากแล้ว ลูกชายเป็นคนขยันขันแข็งในการงาน พยายามที่จะกอบกู้ฐานะของครอบครัว ในฤดูทำนาลูกชายก็ออกไปไถนาตั้งแต่เช้าตามปกติทุกวัน ส่วนแม่เฒ่าก็เตรียมข้าวปลาอาหารไปส่งลูก ที่ท้องนาทุกวัน

อยู่มาวันหนึ่ง ลูกชายก็ออกไปไถนาตามปกติ ส่วนแม่เฒ่าตื่นสายไปหน่อยจึงเตรียมข้าวปลาอาหารช้ากว่าทุกวัน ลูกชายไถนาอยู่ในนารู้สึกหิวข้าว แม่ก็ยังไม่มาส่งข้าวเหมือนทุกวัน ลูกชายก็ได้แต่คอยด้วยความหิว ก็ยังไม่เห็นแม่มาซักที ครั้นเมื่อแม่เฒ่ามาถึงพร้อมกับก่องข้าวที่เคยใส่อาหารมา ด้วยความหิวลูกชายรู้สึกว่าก่องข้าวเล็กนิดเดียว คงไม่พอกิน จึงเกิดโทสะที่คิดว่าแม่นำข้าวมาเพียงนิดหน่อยไม่พอกิน แม่ช่างไม่เห็นใจที่ตนพยายามทำงานเพื่อกอบกู้ฐานะของครอบครัว ทั้งความหิวและความโกรธจนลืมตัว หยิบได้ไม้ท่อนหนึ่งตีแม่ แล้วจึงกินข้าวจนอิ่มแต่ข้าวยังไม่หมดก่อง จึงหวนคิดว่าตนหิวจนตาลาย ได้กระทำร้ายมารดาไปเสียแล้ว รู้สึกเสียใจที่ตนเองได้ทำร้ายแม่จนถึงขั้นมาตุฆาต และได้เข้ามอบตัวสารภาพผิดต่อเจ้าเมือง และขอบวชเพื่อไถ่บาป เจ้าเมืองก็อนุญาต เมื่อบวชก็ได้ปฏิบัติเคร่งครัดในวินัย จนชาวบ้านตลอดจนเจ้าเมืองเลื่อมใสมาก จึงถวายไม่กวาดลานวัดทำด้วยด้ามทองคำ ภายหลังจึงเรียกชื่อหมู่บ้านนั้นว่า "บ้านตาดทอง" พระภิกษุรูปนี้ได้เจริญศีลภาวนาเป็นที่เลื่อมใสของคนทั่วไปทั้งประชาชนที่อยู่หมู่บ้านอื่น ๆ ท่านได้ตั้งจิตที่จะสร้างพระธาตุเจดีย์ สูงชั่วลำตาล จนสำเร็จบริบูรณ์ เรียกว่า "พระธาตุก่องข้าวน้อย" สืบมาจนทุกวันนี้

หมายเหตุ
1. พระธาตุก่องข้าวน้อย ตั้งอยู่ที่บ้านตาดทอง อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร
2. ก่อง-ภาษาอีสาน หมายถึง ภาชนะใส่ข้าวทำด้วยไม้ไผ่สานมีฝาปิด
3. ตาด-ภาษาอีสาน หมายถึง ไม้กวาดด้ามยาว



ที่มา : สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน เล่ม 1(หน้า 110),5 ธันวาคม 2542


yengo หรือ buzzcity

นิทานเขมร เรื่อง จะแกสำเปิว

นิทานเขมร เรื่อง จะแกสำเปิว


จังหวัดสุรินทร์และใกล้เคียง มีนิทานคติเรื่อง จะแกสำเปิว แปลว่า หมาจิ้งจอก ซึ่งมีแนวเรื่องเหมือนกับเรื่อง "ศรีบัวทอง" ที่ชาวลำปางเชื่อว่า ลานหินที่อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง มีรอยเท้าสุนัขในแผ่นหินจำนวนมาก เป็นที่อยู่ของสุนัขในเรื่องศรีบัวทอง ในที่นี้จะยกตัวอย่างนิทานสุรินทร์ ดังนี้

มีสุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งอยู่บนสวรรค์ เทวดาองค์หนึ่งสาปให้มาเป็นหมาจิ้งจอกในโลก นางหมาจิ้งจอกมองเห็นเด็ก ๆ รังแกสุนัขอยู่เสมอ เมื่อนางจะคลอดลูกซึ่งตั้งท้องมาแต่สวรรค์แล้ว นางหมาจิ้งจอกจึงหนีไปอยู่ในถ้ำเพื่อคลอดลูก ครั้นคลอดลูกมากลายเป็นมนุษย์ทั้งคู่ เป็นผู้หญิงหน้าตาสวยงาม หมาจิ้งจอกจึงเลี้ยงลูกอยู่ในป่านั้น หาเสื้อผ้าอาหารมาเลี้ยงดูลูกจนเติบโต เป็นสาวทั้งสองคน

ครั้นนั้นมีพระราชาแห่งกรุงพาราณสีได้เสด็จประพาสป่าพบพี่น้องสองสาวมาเล่นน้ำ พระองค์หลงไหลในความงามของนางทั้งสอง จึงสอบถามนาง ๆ ก็บอกว่านางเป็นชาวป่าอาศัยอยู่ในป่านี้มาแต่เกิด พระราชาจึงรับนางทั้งสองไปเป็นชายา ให้พี่สาวเป็นมเหสี ส่วนน้องสาวเป็นนางสนม นางหมาจิ้งจอกกลับจากหาอาหาร ไม่พบลูกสาวทั้งสองก็ติดตามดมกลิ่นพเนจรไป ส่วนลูกสาวคนโตเมื่ออยู่ในวังก็มีความสุข ไม่คิดถึงแม่เลย แต่ลูกสาวคนน้องคิดหาแต่แม่หมา ว่าป่านนี้คงเที่ยวหานางทุกแห่งหน วันหนึ่งแม่หมาติดตามกลิ่นมาจนถึงในวัง ลูกสาวคนโตเปิดหน้าต่างเห็นแม่หมาจิ้งจอกก็จำได้ จึงรีบปิดหน้าต่างทันที เกรงว่าพระราชาจะรู้ว่าตนมีแม่เป็นหมา แม่หมาจะวิ่งไปหาลูกสาวให้จงได้ ลูกสาวเห็นแม่หมาจึงให้คนไล่ตีออกไป แม่หมาจิ้งจอกจึงไปหานางน้องสาว เมื่อนางเห็นแม่หมาของนางก็ดีใจวิ่งเข้ากอด อุ้มขึ้นสู่ปราสาท และนางก็เล่าให้พระราชาว่านางมีแม่เป็นสุนัข จึงขออนุญาตเลี้ยงแม่ของนางไว้บนปราสาทด้วย แต่ด้วยความอิดโรยนางแม่หมาจิ้งจอกก็สิ้นใจตาย เมื่อแม่ตายนางก็ขออนุญาตพระราชาขอเก็บกระดูกไว้บูชา พระราชาก็อนุญาต เมื่อนางบูชากระดูกแม่ ได้เจ็ดวันกระดูกก็กลายเป็นทองคำ

เมื่อพระราชาทราบดังนั้น จึงทรงดำริว่าน้องสาวเป็นผู้มีความกตัญญูรู้คุณมารดา แม้ว่าเป็นสุนัขก็ไม่รังเกียจ จนนางได้รับผลแห่งคุณความดีมีเงินทองมากมาย พระราชาจึงไปถามมเหสีผู้เป็นพี่สาวนางก็ยอมรับ พระราชาทรงดำริว่านางไม่รู้บุญคุณแม่ผู้เลี้ยงดู จึงปลดออกจากตำแหน่งมเหสี และขับไล่ออกจากเมือง ยกฐานะน้องสาวให้เป็นมเหสีแทน

ที่มา : สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน เล่ม 3(หน้า 874),5 ธันวาคม 2542


yengo หรือ buzzcity

นิทานอีสป เรื่อง เทพารักษ์กับคนตัดไม้

นิทานอีสป เรื่อง เทพารักษ์กับคนตัดไม้


ชายตัดฟืนคนหนึ่ง...เข้าไปตัดฟืนในป่า เผอิญเขาทำขวานพลัดตกลงไปในสระน้ำ"โธ่...โธ่...โธ่...ฉันจะทำอย่างไรดี ว่ายน้ำก็ไม่เป็น"ชายตัดฟืนคร่ำครวญอยู่ริมสระ เพราะเขาไม่มีเครื่องมือทำมาหากินอีก

เทพารักษ์ที่อยู่ใกล้ๆ อดสงสารไม่ได้ จึงปรากฏกายให้เห็น แล้วเอื้อมมือลงไปในสระน้ำ คว้าขวานเล่มหนึ่งส่งให้คนตัดฟืน "โอ...ท่าน...นี่มันขวานทอง ไม่ใช่ขวานของข้าหรอก" ชายตัดฟืนไม่ยอมรับ เทพารักษ์จึงงมขวานขึ้นมาให้อีกเล่มหนึ่ง

"นี่ก็ไม่ใช่ขวานของข้า...ของข้าขวานเหล็กธรรมดาท่าน ไม่ใช่ขวานเงิน" "เจ้าเป็นคนซื่อสัตย์" เทพารักษ์พูด "คนอย่างเจ้าหายาก เอ้าข้าให้ขวานทองกับขวานเงินเจ้าเป็นรางวัลก็แล้วกัน" กล่าวเสร็จแล้ว เทพารักษ์ก็หายตัวไป

คนตัดฟืน นำขวานทองและขวานเงินเดินกลับบ้าน พบใครก็อวดให้ชมและเล่าว่าได้มาอย่างไร "เทวดาท่านดีใจมากเลย ข้านั่งร้องไห้อยู่ริมสระเดี๋ยวเดียวเท่านั้น ท่านก็มางมขวานให้ แล้วก็ให้ขวานทองขวานเงินแก่ข้าอีกด้วย"

เพื่อนบ้านคนหนึ่ง อยากได้บ้าง จึงเข้าไปในป่า ทำทีหาฟืน แล้วก็โยนขวานของตนทิ้งลงในน้ำ "ฮือ...ฮือ...ฮือ... คราวนี้ข้าหมดทางหากินแน่ ๆ " เทพารักษ์มางมขวานให้เช่นเคย "เอ้า ขวานทองเล่มนี้ของเจ้าใช่ไหม ? " "ใช่ ใช่แล้วท่าน ของข้าเอง" ชายโลภมากพูดอย่างยินดี "เจ้าคนโกงไม่น่าคบ " พูดแล้ว เทพารักษ์ก็หายวับไปกับขวานทอง และเพื่อนบ้านคนนั้นก็ไม่ได้รับขวานที่ตกลงไปในสระคืนอีกด้วย


นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
โลภมากลาภหาย

ที่มา http://www.doesystem.com/da6ab32c9b6c6033872ccd3e9d5c2a29/นิทานอีสป-เรื่อง-เทพารักษ์กับคนตัดไม้.htm

yengo หรือ buzzcity

นิทานอีสป เรื่อง ค้างคาวเลือกพวก

นิทานอีสป เรื่อง ค้างคาวเลือกพวก


ค้างคาวนั้นถือว่าตนก็มีปีกเหมือนนก เเละก็มีหูเหมือนสัตว์ อื่นทั่ว ๆ ไป

ดังนั้นเมื่อนกยกพวกไปต่อสู่กับสัตว์อื่นๆ ค้างคาวก็ขอตัวไม่ เข้าข้างฝ่ายใดโดยทำตัวเป็นกลาง

เเต่เมื่อพวกของนกมีท่าทีว่าจะชนะ ค้างคาวก็ประกาศตัว ไปเข้ากับฝ่ายนก

ต่อมาพวกนกจะพลาดท่าเสียทีเเก่สัตว์อื่นๆ ค้างคาวก็ผละ จากนกไปเข้าพวกกับสัตว์อื่นๆ

ต่อมานกต่อสู้จนใกล้จะได้ชัย ค้างคาวก็กลับมาอยู่ข้างฝ่ายพวก นกอีก

เมื่อนกกับสัตว์อื่นๆ ทำสัญญาสงบศึกเเละเป็นมิตรต่อกัน ทั้งสองต่างก็ขับไล่ค้างคาว ไม่ยอมให้เข้าพวกด้วย

ค้างคาวอับอายจึงไปซ่อนตัวอยู่ในถ้ำ จะออกจากถ้ำไปหา อาหาร ในตอนกลางคืนเท่านั้น

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า 

ผู้ที่ขาดความจริงใจ ไม่มีใครอยากคบหาด้วย

ที่มา http://www.doesystem.com/f1036e2684c6af702671611b656e3596f1036e2684c6af702671611b656e3596/นิทานอีสป-เรื่อง-ค้างคาวเลือกพวก.htm

yengo หรือ buzzcity

นิทานอีสปเรื่อง สุนัขจิ้งจอกหางด้วน (The Fox without a Tail)

นิทานอีสปเรื่อง สุนัขจิ้งจอกหางด้วน (The Fox without a Tail)


วันหนึ่ง...

เจ้าสุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งวิ่งไปติดกับดักสัตว์

มันพยายามที่จะดึงหางของมันที่ติดอยู่ในกับดักให้หลุดออก

ในที่สุดมันก็ดิ้นหลุดจากกับดักออกมาได้ แต่หางของมันไม่ได้หลุดมาด้วย

หางมันขาดติดอยู่ที่กับดักนั่นเอง

มันไม่ค่อยสบายใจนัก เมื่อมองเห็นว่าหางของมันด้วนกุด

"สุนัขจิ้งจอกตัวอื่น ๆ คงจะหัวเราะเยาะเราแน่" มันคิด

"ฉันจะทำอย่างไรดีนะ อ้อ...ฉันรู้แล้ว ฉันจะต้องทำให้พวกเพื่อน ๆ เกิดความคิดคล้อยตามฉันว่า สุนัขไม่มีหางนี่แหละวิเศษกว่า"

ดังนั้นมันจึงได้เที่ยวบอกสุนัขจิ้งจอกตัวอื่น ๆ ด้วยกันว่า

"พวกท่านจะดูกระฉับกระเฉงทีเดียว ถ้าไม่มีหาง แล้วไอ่หางนี่ก็ใช้อะไรไม่ได้จริงไหม ? ดูฉันซิ ฉันสามารถที่จะวิ่งได้เร็วมาก เพราะว่าฉันไม่มีหาง"

แต่สุนัขจิ้งจอกสูงอายุตัวหนึ่งแย้งว่า

"ที่เจ้าว่าเช่นนั้น ก็เพราะมีเจ้าเพียงตัวเดียวเท่านั้นที่หางด้วน เจ้าก็เลยไม่อยากจะให้พวกเรามีหางแต่พวกเรารักหางของเรา แล้วเราก็รักษาหางของเราไว้ได้ดี ขอบใจนะ"


นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า

คนมีปัญญาฉลาดนั้นจะไปหลอกเขาไม่ได้ง่ายนัก

yengo หรือ buzzcity

นิทานอีสป เรื่อง ต้นสนกับพุ่มไม้

นิทานอีสป เรื่อง ต้นสนกับพุ่มไม้


วันหนึ่ง...
ต้นสนบนยอดเขาแห่งหนึ่ง กล่าวกับพุ่มไม้ว่า เธอดูฉันสิ ฉันทั้งสูงทั้งแข็งแรง ทั้งสง่าและงามเพียงใด

แต่... ส่วนเธอมีอะไรดี ?

เธอทั้งเล็ก ทั้งน่าเกลียด และไม่มีระเบียบอะไรเลย

คำพูดของต้นสน ทำให้พุ่มไม้หนามพุ่มนั้นไม่ค่อยสบายใจนัก เพราะมันรู้ว่า ต้นสนพูดถูก

แต่ในวันต่อมา ชายสองคนได้แบกขวานเดินขึ้นมาบนภูเขา
ชายทั้งสองลงมือตัดโค่นต้นสนต้นนั้นลงทันที เพราะเขาต้องการจะเอาไม้นั้นมาปลูกบ้านใหม่

อนิจจา ! ต้นสนร้องครวญคราง ขณะที่มันนถูกตัดใกล้จะโค่นล้มลงไป

ฉันอยากจะให้ตัวฉันเป็นพุ่มไม้เหลือเกิน เพื่อว่า คนจะได้ไม่มาตัดโค่นฉัน

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า บุคคลที่หยิ่งยโสมากเกินไป มักจะต้องเสียใจภายหลัง

People who are too proud may be sorry later

yengo หรือ buzzcity